จำนวนการดูหน้าเว็บรวม
วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556
วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556
บทคัดย่อ
การศึกษาไทย..ในยุคไฟไหม้ฟาง
ปี พ.ศ.2551 นี้ นับว่าเป็นปีที่ 9 ของการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
โดยตลอด 9 ปีที่ผ่านมา
รัฐได้ใช้งบประมาณเพื่อการปฏิรูปการศึกษาไปจำนวนมหาศาล หากแต่การพัฒนา
ยังไม่เห็นเด่นชัดเท่าที่ควร โดยเฉพาะผลที่เกิดขึ้นกับตัวผู้เรียน
ซึ่งยังไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติ
ที่ต้องการให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เป็นนักอ่าน นักคิด เป็นคนดี มีความสุข
และเก่ง
เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น
เมื่อเราหันกลับมาดูงบประมาณที่รัฐได้ทุ่มลงไปเพื่อการศึกษานั้น เราจะพบว่า
งบประมาณส่วนใหญ่ เป็นงบประมาณประจำ และงบเงินเดือน และผลตอบแทนบุคลากร
จึงเกิดปัญหาความไม่พอเพียงในงบประมาณเพื่อใช้จัดการศึกษาอื่น ๆ
ซึ่งทางหน่วยงานที่จัดการศึกษา
ก็ได้พยายามแก้ปัญหาโดยการจัดลำดับความสำคัญของการจัดการศึกษาตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้
แต่ก็ยังแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ได้
เหตุเพราะยุทธศาสตร์และแนวทางการจัดการศึกษานั้น
จะมีการเปลี่ยนแปลงทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงฝ่ายกำหนดนโยบาย
โดยเฉพาะตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง
ซึ่งแต่ละคนก็มียุทธศาสตร์และแนวทางการบริหารที่ต่างกัน บางคนให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นพิเศษ
ขณะที่อีกคนให้ความสำคัญกับอีกเรื่องหนึ่ง
เพื่อแสดงให้เห็นว่าในยุคของตนมีผลงานเด่น และมีจุดขายเป็นของตนเอง
ซึ่งส่งผลต่อผู้ปฏิบัติงานโดยตรง เมื่อผู้ปฏิบัติงานต้องรับนโยบายมาจากฝ่ายบริหาร
บางครั้ง ทำให้ต้องละทิ้งสิ่งที่ตนเองกำลังพัฒนา ทั้ง ๆ ที่บางครั้งยังไปได้ด้วยดี
และต้องมาเริ่มต้นพัฒนางานตามนโยบายใหม่ ทำให้เกิดความไม่ต่อเนื่องในการพัฒนา
ซึ่งมีฝ่ายปฏิบัติงานหลายคน ได้ให้คำจำกัดความของนโยบายที่รับมานี้ว่า “นโยบายไฟไหม้ฟาง” ดังนั้น
สิ่งสำคัญที่ฝ่ายปฏิบัติงานต้องการมากที่สุด ก็คือ
นโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืนและถาวร และการพัฒนาตนเองของครู เพราะสภาพในปัจจุบัน
ครูส่วนใหญ่ ต้องทำงานเพื่อสนองนโยบายของฝ่ายบริหาร ทั้ง ๆ ที่งานเหล่านี้
ส่วนใหญ่จะไม่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผู้เรียนเลย แม้แต่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเอง
ก็ไม่มี เช่น งานธุรการ งานรายงานข้อมูลข่าวสาร และงานอื่น ๆ
ตามที่ได้รับการสั่งการ หรือร้องขอมา บางครั้ง ครูต้องทำหลายงานในเวลาเดียวกัน
แต่ไม่ต่อเนื่อง ผลที่ออกมายังไม่ส่งผลถึงเด็ก ถึงครู
ส่งผลให้สัมฤทธิผลทางการศึกษาของเด็กไทยนอกจากจะไม่ดีขึ้นแล้ว
ยังมีแนวโน้มลดลงไปอีก เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงความล้มเหลวของการปฏิรูปการศึกษา
ภายใต้นโยบาย “ไฟไหม้ฟาง” นี้ได้เป็นอย่างดี
ดังนั้น สิ่งที่ผู้เขียนอยากจะเห็น
ในการจัดการศึกษาในยุคปัจจุบันก็คือ การจัดงบประมาณตามลำดับความสำคัญของยุทธศาสตร์
และการทุ่มเทงบประมาณ บุคลากรและทรัพยากรทุกอย่างลงไปสู่ผู้เรียนอย่างเต็มที่
ที่สำคัญที่สุดได้แก่ การมีนโยบายการพัฒนาที่ต่อเนื่อง เนื่องจากอนาคตของเด็กไทย
ไม่ใช่ของเล่น ที่ใครจะมาทดลอง หรือสั่งการ เพียงเพื่อสนองความต้องการของตนเอง
เพราะอนาคตของเด็กไทย คืออนาคตของประเทศชาติ นั่นเอง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)